อินเดียจึงมีพิธีการเพื่อบอกกล่าวแก่ญาติและเพื่อนฝูงอีกครั้งหนึ่ง คือการโกนจุก งานมงคลอื่น ๆ เพราะนับเป็นงานมงคลเช่นเดียวกัน มีสวดมนต์เย็นวัน ๑ รุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้ว ก็ตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ตอนบ่ายมีเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กนั้นตามพิธีพราหมณ์ สำหรับวางพานมงคล คือ ด้ายสายสิญจน์ที่ทำเป็นวงพอดีหัวเด็ก เมื่อผู้เป็นประธานในพิธีจุดเทียน หน้าพระ รับศีลพระสวดมนต์แล้วก็ใส่มงคลนั้นให้แก่เด็ก จนสวดมนต์จบแล้วจึงปลดสายสิญจน์ จากมงคลเด็กที่โยงไปสู่ที่บูชาพระนั้นออก แล้วพาเด็กกลับจากพิธีได้ รุ่งขึ้นเวลาเช้านุ่งผ้าเด็กด้วย ผ้านุ่งขาวและห่มขาว พาไปนั่งยังที่พิธี มีพานล้างหน้าและพานร้องเกี้ยววางไว้บนโต๊ะตรงหน้า แท่นมงคล ผู้ที่จะโกนผมจัดการแบ่งผมจุกเด็กออกเป็น ๓ ปอย เอาสายสิญจน์ผูกปลายผมกับแหวน นพเก้า และใบมะตูมทั้งสามปอย ครั้นถึงเวลาฤกษ์โหรลั่นฆ้องชัย พระสวดชยันโตฯ ผู้เป็นประธาน ในพิธีตัดจุกปอยที่ ๑ แล้ว ผู้ใหญ่ในตระกูลตัดผมปอยที่ ๒ พ่อเด็กตัดปอยที่ ๓ ผู้ตัดไม่จำกัดบุคคล ว่าเป็นผู้ใดแล้วแต่เจ้าของงานจะเชิญเจาะจงด้วยความนับถือ เมื่อตัดจุกเรียบร้อยแล้วนำเด็กไปนั่ง ยังเบ็ญจาที่รดน้ำอันตั้งไว้ในชานชลาแห่งหนึ่ง พร้อมด้วยน้ำพระพุทธมนต์ที่ใส่ในคนโทแก้ว เงิน ทอง ตามที่มีตั้งไว้บนม้าหมู่หนึ่ง ผู้ที่มาในงานนั้นก็เขาไปรดน้ำพระพุทธมนต์นั้นให้แก่เด็ก เสร็จ แล้วนำเด็กไปแต่งตัวใหม่นำออกไปถวายของพระที่ฉันแล้วด้วยตัวเด็กเอง เมื่อพระสวดถาสัพพีให้ พรแล้วกลับมาพักถอดเครื่องแต่งตัวได้ จนถึงเวลา ๔ - ๕ โมง ก็แต่งตัวเด็กชุดถวายของพระออกไป ทำขวัญ ตามพิธีพราหมณ์อีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้ไม่มีพระสงฆ์ มีแต่พวกพราหมณ์และพิณพาทย์มโหรี สำหรับประโคมเวลาเวียนเทียนให้เด็กนั่งโต๊ะบายศรี แล้วพราหมณ์ก็ทำขวัญให้ตามพิธีคือ ผูกมือ เจิมแป้ง น้ำมันจันทร์ให้กินน้ำมะพร้าวแล้วเวียนเทียน ๓ รอบ เป็นเสร็จการทำขวัญและเสร็จงาน |