สุภาษิต

สุภาษิต คือ สำนวนโวหารที่แสดงถึงความคิดสูง และสืบทอดมาแต่โบราณ แสดงถึง
ความเจริญของวัฒนธรรมทางด้านภาษา ซึ่งแต่ละภูมิภาค แต่ละท้องถิ่น และแต่ละชุมชน กระทั่ง
แต่ละเหล่าอาชีพก็มีสำนวนของใครของมันคล้ายกันบ้าง แตกต่างกันไปบ้าง ทั้งนี้เพราะที่มาไม่
เหมือนกันแต่โดยความหมายมักเทียบเคียงกันได้ แม้แต่ภาษาต่างวัฒนธรรมก็ยังมีส่วนคล้ายกัน
ในทางอุปมา

ตัวอย่างคำสุภาษิต

- ความรู้แค่หางอึ่ง - หญิงก็ร้าย ชายก็เลว
- งอนนักมักเกินงาม - หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์
- ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวปิดไม่มิด - ด้านได้อายอด
- สวยแต่รูป จูบไม่หอม - เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด
- วัวเคยค้า ม้าเคยขี่ - ดินพอกหางหมู
- งมเข็มในมหาสมุทร - ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้
- ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ - ตกบันไดพลอยโจน
- โง่มาก่อนฉลาด - ตาบอดสอดตาเห็น
- โง่แล้วอวดฉลาด - ตีตนก่อนไข้ ร้องไห้ก่อนขู่
- จับปูใส่กระด้ง - ตัดน้ำไม่ขาด ตัดญาติไม่ไหว
- จงเอาเยี่ยงกา แต่อย่าเอาอย่างกา - ตาดีก็ได้ ตาร้ายก็เสีย
- เจอไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น - ถ่มน้ำลายรดฟ้า
- ฉลาดแกมโกง - น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
- ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ - ชั่วเจ็ดที่ ดีเจ็ดหน