

ถือเป็นเรือนพื้นเมืองของล้านนาอีกรูปแบบหนึ่งเกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมการปลูกสร้างแบบ
ดั้งเดิมและวัฒนธรรมที่ชาวล้านนา ได้รับมาจากภายนอก เรือนสมัยกลางมีรูปแบบเป็นเรือนไม้จริง
หรือเรือนเครื่อง
สับขนาดใหญ่ใต้ถุนสูง แบบประเพณีดั้งเดิมของล้านนาไม่มีกาแลแต่ใช้ปั้นลมแบบภาคกลาง ซึ่งเป็นที่นิยมมากใน
ลำปางและเมืองแพร่ หากเป็นบ้านของชนชั้นขุนนางมักเป็นเรือนแฝดเกาะกลุ่มกันตั้งแต่
2 หลังขึ้นไป
กาแล
เอกลักษณ์ล้านนา 
ส่วนปลายของจั่วที่ไข้วกันบนหลังคามีไม้ปั้นลมที่ชาวเหนือเรียกส่วนนี้ว่า
"กาแล"
ไม้กาแลให้พริ้วงามอ่อนช้อย หรือกาแลเป็นเรือนพักอาศัยของผู้มีอันจะกินนำ
ชุมชน หรือเรือนบุคคลให้วัสดุก่อสร้างคุณภาพดีเยี่ยม การช่างฝีมือประณีต
ภาษา
ถิ่นในปัจจุบัน เรียกว่า" เรือนบ่าเก่า " หรือ
เรือนทรงโบราณ
|
|
|
แม่เตาไฟ
กระบะมีกรอบไม้บรรจุดินและขี้เถ้าอัดแน่น
วางเส้าหรือหิน 3 ก้อน หรือ
หลักสามขา เป็นเตาไฟ สำหรับหุงต้มอาหาร
|
เติ๋น
เป็นเนื้อที่กึ่งเปิดโล่ง
มีขนาดไม่เล็กกว่าห้องนอน เป็นเนื้อที่ใช้งานได้
อเนกประสงค์ เรือนที่มีห้องนอนเดียวจะใช้เติ๋นเป็นห้องนอนของ
ลูกชายลูกสาวนอนกับพ่อแม่ ถ้าเป็นเรือนขนาดเล็กหรือเรือนไม้ มัก
จะตั้งร้านน้ำณบริเวณเติ๋นนี้ด้วยบางทีทำฝ้าตะแกรงไม้ไผ่สานโปร่ง
อยู่เหนือเติ๋นไว้เก็บของจิปาถะ
|
|
|
ควั่น
บริเวณเพดานของเติ๋น
ห้อยโครงไม้ตารางยึดแขวนกับขื่อโครงหลังคา ใช้เก็บของเครื่องใช้ต่าง
ๆ โดยเฉพาะคนโทน้ำ
|
ตามน้ำและฮานน้ำ 
ตามน้ำภาษาทางเหนือ
แปลว่า ให้ทานน้ำ หม้อน้ำ หรือ คนโทน้ำ วางใกล้
ประตูทางเข้าบ้านบ้าง บนโคนต้นไม้บ้าง มีใบไม้หรือใบเฟิรน์ห่อหุ้ม
เพื่อ
ให้น้ำเย็นอยู่เสมอ พร้อมกระบวยตักน้ำเพื่อให้คนได้ดื่ม
|
|
|
อ่อมริน
ในเรือนสมัยกลาง
เรือนครัวจะแยกออกไปอีกหลังหนึ่งวางขนานกับเรือน
ใหญ่หรือเรือนนอน ชายคาของเรือนนอนและเรือนครัวจะมาจรดกันบริเวณ
ช่องทางเดินใต้ชายคานี้ เรียกว่า อ่อมริน
|
หำยนต์
แผ่นไม้ศักดิ์สิทธิ์เป็นไม้แผ่นเดียวแกะสลักลวดลายสวยงามเป็นแผ่นไม้ที่เชื่อกันว่าจะ
ป้องกันสิ่งไม่ดี ที่จะเข้าสู่ประตูห้องนอน ติดไว้เหนือวงกบด้านบน
|
|
|
มุงดินขอ
ดินขอหมายถึง
กระเบื้องดินเผา หากเป็นหลังคามุงกระเบื้องไม้ ภาษาพื้นเมือง
เรียกว่า มุงเป็นเกล็ด
|
ใต้ถุนสูง
ใช้สำหรับเก็บเครื่องมือเครื่องใช้บางครั้งตั้งหูกทอผ้าหรือนั่งเล่นหรือเป็น
ที่รับแขก
|
|

|