พินัยกรรมชาวบ้าน
เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของผู้นั้นจะตกทอดแก่ทายาท คือตกได้แก่ บุตร ภรรยา สามีและบิดามารดาของผู้ตายอย่างไรก็ดีก่อนที่ผู้นั้นตายเขาอาจทำ
พินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ใครก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นทายาทผู้มีสิทธิ์ในมรดก ปัญหามีว่าการทำพินัยกรรมนั้นจะทำอย่างไร เขาจะทำเองได้หรือไม่
และทำไปแล้วขณะที่เขายังไม่ตายเขาจะเพิกถอนหรือทำลายพินัยกรรมของเขานั้นเองได้หรือไม่เพียงใดหรือเขาประสงค์จะทำพินัยกรรมยกส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเขานั้นให้แก่โรงพยาบาลจะทำได้เพียงใดหรือไม่ เราลองมาทำความเข้าใจกันแบบง่าย ๆ ในลักษณะถามตอบกัน ดังนี้
- 1. ถาม การทำพินัยกรรมอย่างง่าย ๆ จะทำอย่างไร
ตอบ พินัยกรรมเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับเราท่านทั้งหลาย เพราะ เหตุว่าเราประสงค์จะให้ทรัพย์สินของเราตกได้แก่ใคร เมื่อเราตายไปแล้วนั้นเราก็
สามารถทำได้ ลักษณะเช่นนี้แหละเราเรียกว่าพินัยกรรมซึ่งต่างกับการที่เรายกทรัพย์สินให้ผู้อื่นในขณะที่เรามีชีวิตอยู่เป็นเรื่องของการให้โดยเสน่หา แต่
หากเราประสงค์จะให้ทรัพย์สินแก่ผู้อื่นโดยไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ ภายหลังจากที่เราตายไปแล้วนั้น เราเรียกว่า พินัยกรรมซึ่งก็ต้องทำตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้
- 2. ถาม ดังนั้นพินัยกรรมก็คือการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายของบุคคลว่าหากเขาตายไปแล้วให้ทรัพย์สินของเขานั้นตกได้แก่ใคร
ตอบ ในเรื่องการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้น ไม่จำกัดเฉพาะแต่หากเขาตายไปแล้วให้ทรัพย์สินของเขาตกได้แก่ใครเท่านั้น เขาอาจกำหนดการเผื่อตายว่าหากเขาตายไปแล้วได้ให้ดวงตาของเขาตกได้แก่โรงพยาบาลนั้น ปอดของเขาตกได้แก่โรงพยาบาลนี้ก็มี ย่อมทำได้เช่นเดียวกัน เพราะในเรื่องพินัยกรรมนั้นกฎหมายได้เขียนไว้กว้าง ๆ รวมทั้งทรัพย์สินและการอื่นใดต่าง ๆ ที่สามารถบังคับได้ด้วย และยิ่งกว่านั้นเขาอาจทำพินัยกรรมตัดมิให้ทายาทของเขารับมารดกของเขา ก็ย่อมทำได้อีก
- 3. ถาม ถ้าหากเราประสงค์จะทำพินัยกรรมเองจะทำได้หรือไม่
ตอบ ทำได้ ไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเลยหากเราอ่านออกเขียนได้ก็ย่อมทำได้ พินัยกรรมประเภทนี้เราเรียกว่าพินัยกรรม แบบเขียนด้วยตนเอง ซึ่งก็เป็นเรื่องง่าย ๆ ไม่จำเป็นต้องมีพยานรู้เห็น เราเขียนของเราเองขี้นมาก็ย่อมทำได้ ไม่มีปัญหาอะไรไม่ใช่เรื่องยากเย็นด้วย อย่างไรก็ดี พินัยกรรมแบบที่เขียนเองนั้นก็ควรเป็นเรื่องที่ไม่สลับซับซ้อน ผู้ทำที่เราประสงค์จะยกทรัพย์สินให้นั้นเป็นบุคคลอื่นซึ่งเราเห็นว่าเขาควรจะได้ทรัพย์สินจากเราเมื่อเราตายไปแล้วก็ย่อมกระทำได้
การกู้ยืม
- 1. ความหมาย
ถาม การกู้ยืมกับการยืมแตกต่างอย่างไร
ตอบ การกู้ยืม หมายถึง การกู้ยืมเงิน ถ้ายืมทรัพย์สินอย่างอื่น
เรียกว่าการยืมแต่ไม่ใช่กู้ยืม (ป.พ.พ. มาตรา 650 มาตรา 642)
- 2. หลักฐานการกู้ยืม
ถาม การกู้ยืมเงินต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไปหรือไม่
ตอบ ถ้าการกู้ยืมเงินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไป จะต้องมีหลักฐานเป็น
หนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม เป็นสำคัญถ้าการกู้ยืมเงินไม่เกิน
ห้าสิบ บาทไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างไร
ถาม หลักฐานแห่งการกู้จะต้องมีถ้อยคำอย่างไร
ตอบ หนังสือที่จะเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้จะต้องมีถ้อยคำหรือใจ
ความให้เห็นว่ามีการกู้ยืมกัน ( ฎีกา 758/2476)
ถาม การกู้ยืมกันเกินกว่าห้าสิบบาทขึ้นไปโดยไม่มีเอกสารต่อกันภาย
หลังมีหลักฐานจะใช้ได้หรือไม่
ตอบ การกู้ยืมตั้งแต่ 50 บาทขึ้นไป แต่ไม่มีเอกสารต่อกัน ภายหลังผู้
ยืมมีจดหมายรับรองหนี้นั้น ถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น
หนังสือ ผู้กู้ยืมต้องรับผิดชอบ (ฏีกา 111/2473)
ถาม บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนใช้เป็นหลักฐานแห่งการกู้
ยืมเงินได้หรือไม่
ตอบ บันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนที่มีข้อความชัดแจ้งว่า
จำเลยรับรองว่าได้กู้ยืมเงินของโจทก์ไปจำนวนเท่านั้นเท่านี้จริง
และจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ท้ายบันทึกนั้นด้วย แม้จะเป็นเรื่อง
พนักงานสอบสวนเรียกไกล่เกลี่ยในทางอาญาก็ตามก็ใช้บันทึกนั้น
เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินได้ (ฎีกา 644/2509)
- 3. การใช้เงินกู้ยืมคืน
ถาม การใช้เงินกู้ยืมเกินห้าสิบบาทคืนให้แก่ผู้กู้ต้องมีหลักฐานเพียงใด
ตอบ การกู้ยืมเงินที่หลักฐานเป็นหนังสือนั้น กฎหมายมีบทบัญญัติบังคับ
ไว้เป็นพิเศษว่า ผู้กู้จะนำสืบการใช้เงินได้เฉพาะเท่าที่บัญญัติไว้ใน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสองเท่านั้น
จำเลยจะสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระต้นเงินกู้แล้ว แต่โจทก์ก็ไม่คืน
สัญญาเงินกู้ให้ย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีหลักฐานการใช้เงินต้นตาม
ที่กฎหมายบัญญัติไว้มาแสดงต่อ ศาล จำเลยก็ต้องแพ้คดี (ฎีกา
263-4/2508)
ถาม หลักฐานหนังสือไอ.โอ.ยู เป็นหลักฐานการกู้ยืมได้เพียงใดและการ
ชำระหนี้ต้องปฏิบัติอย่างไร
ตอบ หนังสือ ไอ.โอ.ยู เป็นหลักฐานการกู้ยืม ซึ่งลูกหนี้ทำให้เจ้าหนี้เก็บไว้
เมื่อไม่มีหลักฐานแสดงว่าลูกหนี้ได้ชำระหนี้นั้นแล้วต้องถือว่าลูกหนี้
ยังเป็นหนี้อยู่ตามเอกสารนั้น (ฎีกาที่ 65/2507)
ถาม จะนำพยานบุคคลนำสืบว่าจำเลยได้ใช้สิทธิเงินยืมโจทก์แล้วได้หรือไม่
ตอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสองเป็น
บทบังคับเด็ดขาด ฉะนั้น จำเลยจึงนำสืบว่าจำเลยได้ใช้เงินให้โจทก์
โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้เวนคืนเอกสารหรือแทงเพิกถอน
เอกสารนั้นแล้วมิได้ (ฎีกา1612/2512)
ถาม พนักงานสอบสวนได้บันทึกการที่ให้ผู้กู้รับเงินจากผู้กู้ไว้จนถือเป็น
หลักฐานการใช้เงินได้หรือไม่
ตอบ เช็คจำเลยถึงกำหนดไม่มีเงิน จำเลยนำเงินตามเช็คไปมอบให้พนัก
งานสอบสวนได้บันทึก และให้โจทก์เซ็นรับเงินนั้นไว้ในบันทึกแล้ว
จำเลยย่อมนำสืบอ้างบันทึกซึ่งมีรายมือชื่อโจทก์ผู้กู้ว่า ได้มีการใช้เงิน
ได้ (ฎีกา 296/2519)
ถาม ลายพิมพ์นิ้วมือใช้เป็นพยานหลักฐานเอกสารได้เพียงใด
ตอบ โจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือแต่ไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 วรรคสาม เท่ากับ
โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อในหลักฐานการใช้เงิน จำเลยจึงใช้เป็นหลัก
ฐานไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ตามที่ปรากฎในเอกสารนั้น (ฎีกา
2550/2524)
- 4. กรณีสัญญาไม่มีกำหนดชำระเงินกู้ยืมคืน
ถาม สัญญากู้ยืมไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระได้เมื่อไร
ตอบ สัญญากู้ยืมไม่มีกำหนดชำระหนี้ ผู้ให้กู้ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้กู้ชำระ
หนี้เมื่อใดก็ได้ (ฎีกา 1124/2511)
ถาม หนี้กู้ยืมที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ ก่อนฟ้องจะต้องบอกกล่าวทวง
ถามหรือไม่
ตอบ หนี้กู้ยืมที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาอันพึงชำระหนี้ไว้นั้นเจ้าหนี้จะฟ้องให้
ชำระหนี้ที่ยืมไปโดยไม่ต้องบอกกล่าวทวงถามก็ได้(ฎีกา 1324/2519)
ถาม หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระจะฟ้องเรียกให้ลูกหนี้ชำระก่อนกำหนดได้หรือไม่
ตอบ เจ้าหนี้จะฟ้องขอให้ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดชำระไม่ได้(ฎีกา 831/2492)
- 5. การคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
ถาม ถ้าเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรามีผลเสียหายเพียงใด
ตอบ การกู้ยืมเงินโดยเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นเป็นโมฆะ เฉพาะดอกเบี้ย
เท่านั้น ต้นเงินหาเป็นโมฆะไม่ ผู้ให้กู้ฟ้องเรียกเงินต้นกู้คืนได้ (ฎีกา
478/2488, 136/2507, 1565/2507)
ถาม สัญญากู้ยืมที่ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยตามกฎหมายนั้นคิดได้เพียงใด
ตอบ หนังสือสัญญากู้ยืมที่ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยกันตามฎหมายคิดดอกเบี้ย
กันได้เพียงร้อยละเจ็ดครื่งต่อปี และโจทก์ผู้ให้กู้เปลี่ยนแปลงข้อความใน
หนังสือสัญญาเป็นว่าได้ตกลงในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไม่ได้ (ฎีกา1084/
2510,29915/2524)
ถาม ถ้าไม่กำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ผู้ให้กู้จะเรียกได้เพียงใด
ตอบ สัญญากู้มีข้อความว่า ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้แต่อัตราดอกเบี้ยไม่ได้
กำหนดไว้จึงต้องใช้อัตราร้อยละเจ็ดครี่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์มาตรา 7 (ฎีกา 1124/2511)
- 6. การรับเอาทรัพย์สินอื่นชำระหนี้แทนเงินกู้ยืม
ถาม การโอนที่ดินชำระหนี้จะต้องมีหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือหรือไม่
ตอบ การชำระหนี้เงินกู้ด้วยการโอนที่ดินให้เจ้าหนี้เป็นการชำระหนี้อย่างอื่นซึ่ง
มิใช่การชำระหนี้ด้วยเงินตามประมวลฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
321 แม้มิไดหลักฐานการชำระหนี้เป็นหนังสือตามมารตรา 653 ศาลก็รับ
ฟังพยานบุคคลที่นำมาสืบในเรื่องการชำระหนี้นั้นได้ เมื่อโอนที่ดินชำระหนี้
หนี้เงินกู้แล้ว หนี้นั้นก็ระงับไป (ฎีกา 1178/2510)
ถาม การตกลงกันด้วยวาจาขณะทำหนังสือสัญญากู้ยืมว่าผู้ให้กู้ยอมให้ผู้กู้ชำระ
หนี้ด้วยข้าวเปลือก จะมีผลตากฎหมายหรือไม่
ตอบ จำเลยให้การว่า ขณะทำหนังสือสัญญากู้ยืม จำเลยได้ตกลงกันด้วยวาจา
ว่าโจทก์ยอมให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้นี้ด้วยข้าวเปลือก 3 เกวียนก็ได้ ต่อมา
จำเลยได้มอบข้าวเปลือกให้โจทก์แล้วหนี้จะระงับจำเลยนำพยานบุคคล
มาสืบตามที่ได้ให้การนี้ได้ไม่เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร เพราะเป็น
การสืบถึงการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับไปไม่ต้องห้าม (ฎีกา 8/2518)
- 7. ความรับผิดในค่าธรรมเนียม
ถาม ผู้กู้หรือผู้ให้เป็นผู้รับผิดในค่าธรรมเนียม
ตอบ ค่าฤชาธรรมเนียมในการสัญญา ค่าส่งมอบและค่าขนส่งคืน เงินยืม
ย่อมตกแก่ผู้ยืมเป็นผู้เสีย ตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 651 (ยังไม่มีคำพิพากษาฎีกา)
- 8. อายุความในการฟ้องเรียกเงินกู้ยืม
ถาม การฟ้องเรียกหนี้เงินกู้ ต้องฟ้องภายในกี่ปี
ตอบ อายุความฟ้องเรียกเงินกู้ยืมไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ต้องถือว่ามีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 164 (ฎีกา 22/2479)
ถาม หนี้อย่างอื่นที่เปลี่ยนเป็นหนี้เงินกู้ต้องฟ้องภายในกี่ปี
ตอบ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยตามสัญญากู้ยืมซึ่งมีมูลหนี้จากการทำ
ละเมิดของจำเลยอายุความเรียกร้องต้องเป็นไปตามเรื่องกู้ยืม มิใช่
เรื่องมูลละเมิด (ฎีกา 89/2518) ซื้อของแล้วแต่ชำระเงินไม่หมด จึงทำ
เป็นหนังสือกู้ให้ผู้ขายไว้ดังนี้ อายุความฟ้องร้องในเรื่องนี้มีกำหนด 10 ปี
(ฎีกา 128/2481)
- 9. สัญญากู้ยืมที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
ถาม ผู้ให้กู้กรอกจำนวนเงินเกินจำนวนที่ตกลงกันในแบบพิมพ์สัญญาเงินกู้ที่
ผู้กู้ลงลายมือชื่อไว้ จะมีผลตามกฎหมายหรือไม่
ตอบ จำเลยกู้เงินโจทก์ 8,000 บาท และเซ็นชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้โดยไม่
กรอกข้อความโจทก์นำไปกรอกข้อความเป็น 30,000 บาท ขัดต่อข้อตก
ลงระหว่างโจทก์จำเลยสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องเอกสารปลอมใช้เป็นหลัก
ฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ (ฎีกา 1290/2516, 80/2518,2692/
2522)
ถาม สัญญากู้ที่ส่งอ้างต่อศาลไม่ได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์จะเป็นพยานหลักฐาน
ในคดีนั้นได้หรือไม่
ตอบ หนังสือสัญญากู้ที่โจทก์ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานต่อศาลโดยมีขีดฆ่าอากร
สแตมป์จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา
118 เป็นผลให้คดีโจทก์ก็ไม่มีหลักฐานที่จะฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ดัง
ฟ้อง (ฎีกา 2738/2517)
- 10. สรุป
- กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมนี้มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจนที่เป็นผู้กู้ยืม กฎหมาย
เรื่องนี้มีบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2467 ต่อมาได้มีการตรวจชำระใหม่ และตราพระราชกฤษฎีกาประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2472
นับตั้งแต่ประกาศใช้ครั้งแรกจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลาร่วม 70 ปี ในวันที่ 1 มกราคม 2537 ดังนั้น ที่ได้รวบรวมสาระสำคัญเรื่องกู้ยืมพิมพ์ไว้ด้วย
จะเป็นประโยชน์ แก่ผู้สนใจที่เกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเป็นอย่างมาก
การค้ำประกัน
- 1. ถาม ค้ำประกันคืออะไร
ตอบ คือสัญญาที่บุคคลภายนอก เรียกว่า "ผู้ค้ำประกัน" ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
- 2. ถาม สัญญาค้ำประกันต้องทำเป็นหลักฐานอย่างไร จึงจะสมบูรณ์
ตอบ กฎหมายไม่ได้บัญญัติแบบของสัญญาค้ำประกันไว้ ดังนั้นจะทำเป็นหนังสือหรือวาจาก็ได้ กฎหมายบังคับเพียงว่าถ้าจะฟ้องร้องบังคับ คดีตามสัญญาค้ำประกัน จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน และหมายรวมถึงการยกขึ้นต่อสู้คดีว่ามีสัญญาค้ำประกันด้วย
- 3. ถาม การค้ำประกันตนเองเพื่อการชำระหนี้ของตนเองสามารถทำได้หรือไม่
ตอบ ไม่สามารถทำได้ เพราะผู้ที่จะค้ำประกันได้จะต้องเป็นบุคคลภายนอก (ลูกหนี้ย่อมค้ำประกันตนเองอยู่แล้วในตัว ไม่มีประโยชน์ที่จะให้ลูกหนี้ทำสัญญา ที่จะให้ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันตนเองอีก)
- 4. ถาม ผู้ค้ำประกันจำเป็นต้องทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อเจ้าหนี้โดยตรงหรือไม่
ตอบ ไ ม่จำเป็นต้องทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อเจ้าหนี้โดยตรง จะทำไว้ต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีเจตนาจะใช้เป็นหลักฐานก็ได้ เช่น จดหมาย บันทึกข้อความรายงานการประชุม อาจเป็นเอกสารฉบับเดียว หรือหลายฉบับ ซี่งอ่านประกอบกันแล้วมีข้อความแสดงให้เห็นว่าผู้ลงลายมือชื่อนั้น ผูกพันตนว่าจะ ชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นก็ได้
- 5. ถาม การที่ผู้กู้ยืมเงินออกเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าหรือส่งมอบโฉนดที่ดินให้ผู้ให้กู้ยืมเงินยีดถือไว้เป็นการค้ำประกันหรือไม่
ตอบ ไม่เป็นการค้ำประกัน แต่เป็นการออกเช็คหรือมอบโฉนดที่ดินให้เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ จึงจำนำสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่บัญญัติไว้
สำหรับสัญญาค้ำประกันมาใช้บังคับไม่ได้
- 6. ถาม หนี้อย่างไรที่สามารถค้ำประกันได้
ตอบ ต้องเป็นหนี้ให้ชำระเงินเท่านั้นจึงจะสามารถค้ำประกันได้ถ้าเป็นหนี้ให้กระทำการหรือไม่กระทำการไม่อาจมีการค้ำประกันได้
- 7. ถาม หนี้ในอนาคตค้ำประกันได้หรือไม่
ตอบ ค้ำประกันได้ เช่น หนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี หนี้ความเสียหายอันเกิดจากลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน หนี้อันเกินจากข้าราชการไปศึกษาต่อ ต่างประเทศ เป็นต้น
- 8. ถาม หนี้มีเงื่อนไขค้ำประกันได้หรือไม่
ตอบ ค้ำประกันได้ โดยหมายถึงหนี้ที่จะเกิดก็ต่อเมื่อมีเงื่อนไขบังคับก่อนจึงจะสำเร็จก็อาจทำสัญญาค้ำประกันล่วงหน้าได้
- 9. ถาม ใครบ้างที่จะเป็นผู้ค้ำประกันได้
ตอบ 1. บุคคลธรรมดา ได้แก่ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ใช่บุคคลล้มละลาย, บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ, บุคคลไร้ความสามารถ หรือบุคคลวิกลจริต
2. นิติบุคคล ได้แก่ บริษัท, ห้างหุ้นส่วนจำกัด, ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล,สมาคม,มูลนิธิ, ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงขอบวัตถุประสงค์
ด้วยว่า มีอำนาจในการทำสัญญาค้ำประกันหรือไม่
- 10. ถาม ผู้ค้ำประกันมีได้กี่คน
ตอบ ผู้ค้ำประกันในหนี้รายเดียวกันมีหลายคนก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าค้ำประกันพร้อมกัน
- 11. ถาม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างไรบ้าง
ตอบ โดยหลักฐานแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกินไปกว่าความรับผิดของลูกหนี้ ซึ่งหมายรวมถึงดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมด้วย
เช่าทรัพย์
- 1. ถาม ทรัพย์สินชนิดใดบ้างที่สามารถเช่าและให้เช่าได้
ตอบ ทรัพย์สินที่อาจเช่าหรือให้เช่าได้นั้นรวมถึงอสังหาริมทรัพย์อันได้แก่ ที่ดิน บ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง เป็นต้น และสังหาริมทรัพย์ อันได้แก่ รถยนต์
เครื่องจักร เครื่องมือหรือทรัพย์อื่นใดที่สามารถเคลื่อนที่หรือถูกเคลื่อนที่ได้และสิทธิทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น
- 2. ถาม การเช่าทรัพย์สินจำเป็นต้องมีการทำสัญญากันเป็นลายสักษณ์อักษรหรือไม่
ตอบ การเช่าไม่จำเป็นต้องมีการทำการสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษร การที่ผู้ให้แสดงเจตนาให้เช่าทรัพย์สิน และผู้เช่าแสดงเจตนาที่จะเช่าทรัพย์สินนั้น
ก็ทำให้การเช่าสมบูรณ์แล้ว
- 3. ถาม ถ้าเช่นนั้นการทำสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษร จะมีประโยชน์ต่อคู่สัญญาอย่างไร
ตอบ การทำสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษรจะมีประโยชน์ต่อคู่สัญญามาก เพราะคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้โดยละเอียดถึงสิทธิหน้าที่ และความรับ
ผิดชอบของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในกรณีที่เกิดปัญหาได้ในการปฎิบัติตามสัญญาก็สามารถใช้สัญญาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้การเช่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิฉะนั้น จะฟ้องร้องบังคับคดีกันมิได้
- 4. ถาม หลักเกณฑ์การทำสัญญาเช่าเป็นลายลักษณ์อักษรมีอย่างไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบที่สำคัญของสัญญาเช่ารวมถึงรายละเอียดของผู้เช่า วันที่ทำสัญญาเช่า ทรัพย์สินที่เช่า ค่าเช่าระยะเวลาการเช่า สิทธิ หน้าที่ และความรับผิด
ผู้ขอเช่าและผู้ให้เช่าและการสิ้นสุดการเช่า นอกจากนี้แล้ว คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องลงลายมือชื่อท้ายสัญญาโดยมีพยานรับรองอย่างน้อย 2 คน
- 5. ถาม ในการเช่าทรัพย์สินผู้เช่ามีสิทธิในทรัพย์สินที่เช่ามากน้อยเพียงไร
ตอบ ผู้เช่าจะมีสิทธิครอบครองในทรัพทย์สินที่เช่า รวมถึงสิทธิในการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินที่เช่าด้วยอย่างไรก็ตาม หากมีข้อตกลงระหว่างคู่สัญญา
ว่าทรัพย์สินที่เช่านั้น จะนำไปใช้ประโยชน์สำหรับวัตถุประสงค์ใดๆ โดยเฉพาะผู้เช่า จะไม่มีสิทธิ์ที่จะนำทรัพย์สินที่เช่าไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นนอกจากเพื่อ
วัตถุประสงค์ที่ได้ตกลงไว้กับผู้ให้เช่า มิฉะนั้น ผู้เช่าอาจผิดสัญญาได้
- 6. ถาม ผู้เช่าจะนำทรัพย์สินที่เช่าให้ผู้อื่นเช่าอีกทอดหนี่ง หรือให้เช่าช่วงได้หรือไม่
ตอบ โดยที่การเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้เช่าไม่อาจนำทรัพย์สินที่เช่าให้ผู้อื่นเช่าช่วงได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่านอกจากนี้แล้ว หากผู้เช่าถึงแก่
ความตายสิทธิการเช่าของผู้เช่าก็จะระงับไปโดยจะไม่เป็นมรดกตกทองไปยังทายาท
- 7. ถาม ถ้าผู้เช่าต้องการแก้ไข ต่อเติมหรือดัดแปลงทรัพย์สินเช่าจะทำได้หรือไม่
ตอบ ผู้เช่าไม่อาจแก้ไขต่อเติม หรือดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่าได้ หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ให้เช่า
- 8. ถาม การที่ผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่าตามที่สัญญากันไว้ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาได้หรือไม่
ตอบ ถ้ามีการกำหนดค่าเช่ากัน สั้นกว่ารายเดือน ผู้ให้เช่าก็สามารถบอกเลิกสัญญาได้ทันที แต่หากกำหนดชำระค่าเช่ากันเป็นรายเดือน หรือยาวกว่านั้น
ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาได้ทันทีไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้ผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ผู้เช่าชำระค่าเช่าภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน
หากผู้เช่ายังไม่ชำระ ผู้ให้เช่าจึงจะบอกเลิกสัญญาได้
- 9. ถาม ในกรณีเช่นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการอย่างไรหากผู้เช่าไม่ยอมส่งมอบทรัพย์สินเช่าคืนแก่ผู้ให้เช่า
ตอบ ในกรณีนี้ ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินฟ้องขับไล่ผู้เช่าต่อศาลยุติธรรม
- 10. ถาม ในกรณีที่การเช่ามิได้มีการระบุระยะเวลาเอาไว้ ผู้ให้เช่าสามารถบอกเลิกสัญญาโดยทันทีได้ทุกเวลาใช่หรือไม่
ตอบ ไม่ใช่ เพราะกรณีนี้กฎหมายกำหนดให้ผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าก่อนชั่วกำหนดเวลาชำระค่าเช่าระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย เช่น กำหนดชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ผู้ให้เช่าก็ต้องแจ้งให้เช่าต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าก่อน 1 เดือนเป็นอย่างน้อย แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินกว่า 2 เดือน หากกำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่านานกว่านั้น
จำนำ
- 1.ถาม จำนำคืออะไร
ตอบ คือสัญญาซึ่งผู้จำนำส่งมองสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งให้แก่ผู้จำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้
- 2. ถาม สัญญาจำนำต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่
ตอบ สัญญาจำนำไม่มีกฏหมายบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือ เพียงมีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แก่ผู้จำนำเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของลูกหนี้ของลูกหนี้ก็เพียงพอแล้ว
- 3. ถาม ทรัพย์สินอะไรบ้างที่จำนำได้
ตอบ สังหาริมทรัพย์
- 4. ถาม ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนำหรือไม่
ตอบ ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำ ไม่อย่างนั้นเจ้าของที่แท้จริงสามารถติดตามเอาทรัพย์สินนั้นคืนได้ โดยไม่ต้องไถ่ถอนจำนำ เพราะจำนำไม่ผูกพันเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงเว้นแต่เจ้าของทรัพย์สินปล่อยให้ผู้อื่นแสดงตนว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สิน และบุคคลอื่นนำทรัพย์สินนั้นไปจำนำโดยผู้รับจำนำสุจริต
- 5. ถาม การนำทรัพย์สินไปจำนำไว้กับโรงรับจำนำ ผู้จำนำต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำหรือไม่ ถ้าผู้จำนำไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่จำนำ เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงสามารถติดตามเอาทรัพย์สินที่จำนำคืนได้อย่างไร
ตอบ ผู้จำนำไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำ เมื่อโรงรับจำนำได้รับจำนำทรัพย์สินนั้นไว้แล้ว เจ้าของที่แท้จริงจะเอาทรัพย์สินที่จำนำนั้นคืนได้โดยการไถ่ถอนจำนำ
- 6. ถาม การจำนำทรัพย์สินกับโรงรับจำนำ มีกรณีใดบ้างที่เจ้าของทรัพย์สินจำนำที่แท้จริงมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินจำนำคืนจากโรงรับจำนำโดยไม่จำเป็นต้องไถ่ถอนจำนำ
ตอบ 1. โรงรับจำนำได้รับจำนำสิ่งของไว้โดยเห็นได้ว่าสิ่งของนั้นเป็นของใช้ในราชการ
2. โรงรับจำนำได้รับจำนำทรัพย์สินหรือสิ่งของที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานว่าเป็นของหาย
3. โรงรับจำนำได้รับจำนำทรัพย์ไว้โดยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าทรัพย์จำนำนั้นได้มา โดยการกระทำความผิด
4. โรงรับจำนำได้รับจำนำทรัพย์ไว้ โดยไม่จดแจ้งรายการในบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จำนำไว้ในต้นขั้วว่าคนที่มาจำนำนั้นเป็นใคร อยู่ที่ไหน
5. โรงรับจำนำรับจำนำสิ่งของรายละเกิน 100,000 บาท
- 7. ถาม จำนำนั้นเป็นประกันหนี้อะไรบ้าง
ตอบ เป็นประกันการชำระหนี้ต้นเงินกับทั้งค่าอุปกรณ์ต่อไปนี้ด้วยคือ
1. ดอกเบี้ย
2. ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้
3. ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
4. ค่าใช้จ่ายในการรักษาทรัพย์สินที่จำนำ
5. ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินที่จำนำซึ่งไม่เห็นประจักษ์
- 8. ถาม สิทธิซึ่งมีตราสารสามารถจำนำได้หรือไม่ การจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง ถ้าไม่ปฏิบัติจะมีผลเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ สิทธิซึ่งมีตราสารสามารถจำนำได้ โดยต้องส่งมอบตราสารนั้นให้แก่ผู้รับจำนำและต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งการจำนำแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วย ถ้าไม่ปฏิบัติสัญญาจำนำย่อมเป็นโมฆะ
- 9. ถาม เงินที่ฝากไว้กับธนาคารสามารถจำนำได้หรือไม่
ตอบ ไม่สามารถที่จะจำนำได้ เพราะ
1. เงินที่ฝากไว้กับธนาคาร เงินนั้นย่อมตกเป็นของธนาคารตั้งแต่เวลาที่ส่งมอบเงินฝากการมาตกลงทำสัญญาจำนำทีหลังจึงไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำ และ
2. สิทธิตามใบฝากเงินไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสารจึงไม่สามารถที่จะจำนำได้
- 10. ถาม ใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ชนิดซึ่งระบุชื่อ สามารถจำนำได้หรือไม่ถ้าจะจำนำต้องทำอย่างไรบ้างจึงจะยกสัญญาจำนำขึ้นต่อสู้บริษัทหรือบุคคลภายนอกได้
ตอบ สามารถจำนำได้ ต้องจดทะเบียนการจำนำนั้นลงไว้ในสมุดของบริษัท
- 11. ถาม ถ้าสิทธิซึ่งจำนำนั้นถึงกำหนดชำระก่อนหนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันไว้นั้น ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นต้องปฏิบัติการชำระหนี้แห่งสิทธินั้นอย่างไร
ตอบ ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นต้องส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งสิทธิให้แก่ผู้รับจำนำ และทรัพย์สินนั้นก็กลายเป็นของจำนำแทนสิทธิซึ่งจำนำ
- 12. ถาม ถ้าจำนำสิทธิ ผู้จำนำจะทำให้สิทธินั้นสิ้นไปหรือแก้ไขสิทธินั้นให้เสียหายแก่ผู้รับจำนำได้หรือไม่
ตอบ ไม่ได้ เว้นแต่ผู้รับจำนำได้ยินยอมด้วย
- 13. ถาม ถ้ามีการตกลงกันไว้ก่อนเวลาหนี้ถึงกำหนดชำระว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนำเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำ ข้อตกลงนั้นจะมีผลบังคับอย่างไร
ตอบ ข้อตกลงนั้นไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้ ถ้าไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลงจะฟ้องให้ปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นไม่ได้ และถ้ามีการปฏิบัติตามข้อตกลงนั้นแล้ว ก็จะมาฟ้องขอให้เพิกถอนไม่ได้
- 14. ถาม ผู้รับจำนำมีหน้าที่ต้องดูแลทรัพย์สินที่จำนำอย่างไรบ้าง
ตอบ ต้องดูแลทรัพย์สินที่จำนำให้ปลอดภัย และต้องดูแลรักษาทรัพย์สินที่จำนำ อย่างเช่นคนปกติทั่วไปจะพึงดูแลรักษาทรัพย์สินของตนเอง
- 15. ถาม ถ้าทรัพย์สินที่จำนำนั้นเกิดมีดอกผลในระหว่างที่จำนำ ดอกผลของทรัพย์สินที่จำนำนั้นเป็นของใคร
ตอบ ดอกผลของทรัพย์สินที่จำนำเป็นของผู้จำนำ เพราะการจำนำนั้นแม้จะมีการส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้กับผู้รับจำนำแต่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนำก็ยังคงเป็นของผู้จำนำ แต่ถ้าดอกผลนั้นเป็นดอกผลนิตินัย ผู้รับจำนำสามารถเอาดอกผลนิตินัยนั้นมาชำรำค่าดอกเบี้ยที่ค้างชำระได้ ถ้าไม่มีดอกเบี้ยค้างชำระก็ให้จัดสรรใช้ต้นเงินที่จำนำเป็นประกันได้เท่านั้น
- 16.ถาม ผู้รับจำนำมีสิทธิบังคับจำนำได้เมื่อใด
ตอบ เมื่อหนี้ที่จำนำเป็นประกันถึงกำหนดชำระ หรือเมื่อลูกหนี้ไม่อาจถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาได้
- 17. ถาม การบังคับจำนำผู้รับจำนำต้องนำคดีมาฟ้องศาลหรือไม่อย่างไร
ตอบ การบังคับจำนำ ผู้รับจำนำไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาลเหมือนจำนอง เพียงแต่ผู้รับจำนำมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ และอุปกรณ์ภายในเวลาอันควร ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดผู้รับจำนำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายได้ แต่ต้องขายทอดตลาดเท่านั้น โดยมีหนังสือบอกกล่าวแก่ผู้จำนำถึงเวลาและสถานที่ขายทอดตลาด
- 18. ถาม มีกรณีใดบ้างที่บังคับจำนำ โดยไม่ต้องมีการบอกกล่าวก่อน
ตอบ 1.กรณีไม่สามารถบอกกล่าวบังคับจำนำแก่ผู้จำนำได้เช่น ผู้จำนำย้ายที่อยู่ และไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด
2.จำนำตั๋วเงิน ผู้รับจำนำเรียกเก็บเงินตามตั๋วเงินนั้นในวันถึงกำหนด โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน
- 19. ถาม ถ้าหนี้ที่จำนำเป็นประกันพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดให้ชำระหนี้แล้ว แต่ผู้รับจำนำยังไม่บังคับจำนำ ผู้จำนำสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินที่จำนำนั้นได้หรือไม่
ตอบ ได้ ตราบใดที่ผู้รับจำนำยังไม่บังคับจำนำ ผู้จำนำมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์สินที่จำนำได้เสมอ
- 20. ถาม เมื่อบังคับจำนำแล้วได้เงินน้อยหรือมากกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระจะมีผลอย่างไร
ตอบ ถ้าได้เงินน้อยกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ลูกหนี้ยังต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่ แต่ถ้าจำนำเพื่อเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น ผู้จำนำไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาด เว้นแต่มีข้อตกลงให้รับผิด ถ้าได้เงินมากกว่าจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ผู้รับจำนำต้องคืนเงินนั้นให้แก่ผู้รับจำนำ หรือบุคคลผู้ควรจะได้เงินนั้น
- 21. ถาม สัญญาจำนำย่อมระงับสิ้นไปในกรณีใดบ้าง
ตอบ 1. เมื่อหนี้ที่จำนำเป็นประกันระงับ ซึ่งมิใช่เพราะเหตุอายุความ เช่น ผู้รับจำนำปลดหนี้ให้ลูกหนี้
2. ผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนสู่ความครอบครองของผู้จำนำ เช่น ผู้จำนำยอมให้ผู้รับจำนำยืมทรัพย์สินที่จำนำกลับคืนไปใช้สอย
3. เมื่อมีการบังคับจำนำได้เงินชำระหนี้ที่จำนำเป็นประกันครบตามสัญญาจำนำแล้ว
ที่มาจากหนังสือกฎหมายเบื้องต้นสำหรับประชาชน