ประเพณีบุญเดือนสิบ   เกิดขึ้นจากความเชื่อในขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม
      สืบทอดแนวคิดจากอินเดียที่ว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วยังต้องใช้เวรกรรมอยู่ในยมโลก
      และจะกลับมาเยี่ยมญาติหรือครอบครัวของตนในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึง แรม 15ค่ำ
      ซึ่งทำให้เกิดมีการทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

	ประเพณีบุญเดือนสิบนี้ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดใน
      ทางภาคใต้เท่านั้น แต่ยังมีทำกันในจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสานอีกด้วย และจะ
      มีชื่อเรียกต่างกัน ในภาคอีสานจะเรียกว่า "งานบุญข้าวสาก"และ"งานบุญตานก๋วยสลาก"

ในวันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกัน
มาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ
เดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้าย
แล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลก
จะร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า   "ส่งตายาย"
ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด
	สำหรับสำรับอาหารที่จัดไปทำบุญมักจะเป็นชุดทองเหลืองหรือถาดโดยจะจัดของที่ใส่ไว้
      เป็นชั้นหรือเป็นชุดโดยชั้นล่างสุดจะใส่ข้าวสาร อาหารแห้ง หอม กระเทียม ชั้นถัดไปเป็น
      ผลไม้และของใช้ประจำวันส่วนชั้นบนสุดใส่ขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของงานบุญเดือน  10 
      ซึ่งขาดไม่ได้มีอยู่  5  ชนิด คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมกง ซึ่งขนม
      ทั้ง 5 ชนิดนี้จะมีความหมายแตกต่างกัน คือ
          ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ
          ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาป
          หรือเวรกรรมต่างๆ
          ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า
          ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ
          ขนมกง เปรียบเสมือนเครื่องทรงหรือเครื่องประดับเพื่อให้ดูภูมิฐานและสวยงาม
      ส่วนอาหารคาวหวานอย่างอื่นที่จะมีเพิ่มเติมลงไปนั้นก็แล้วแต่จะพิจารณาว่าญาติพี่น้องที่
      ล่วงลับไปแล้วของตนจะชอบอาหารหรือขนมใดนอกจากอาหารแล้ว   ยังนิยมใส่เครื่องใช้ 
      ไม้สอย อาทิ ด้าย เข็ม และเงินเหรียญ  (ธนบัตรก็ได้) ลงไปในสำรับด้วยสำรับอาหารที่จัด
      ไว้ส่วนใหญ่จะจัดเป็น 2 ชุด
	ชุดหนึ่งเตรียมไว้เพื่อบำเพ็ญกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งจะนำไปบำเพ็ญ
      ที่ศาลาวัดและอีกชุดหนึ่งจะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เสียชีวิตที่ไม่มีญาติ  หรือไม่มีใครทำบุญไป
      ให้โดยจะตั้งก่อนทางเข้าวัดซึ่งจะเรียกว่า "ตั้งเปรต"หลังจากการบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว
      ผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็จะเข้าแย่งอาหารที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลโดยมีความเชื่อว่าของที่เหลือ
      จากการเซ่นไหว้เปรตนี้ เป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะได้กุศลแรงและจะเป็นศิริมงคลแก่
      ตนและครอบครัวพิธีนี้ชาวนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า"ชิงเปรต"หรือการแย่งอาหารจากเปรต
นอกจากการทำบุญที่วัดแล้ว ทางราชการยังจัดให้มีการทำพิธี
แห่เป็นทางการ รวมทั้งมีการละเล่นต่างๆควบคู่กันไปด้วย เช่น
การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ