ชาติคือสิ่งที่ทุกคนต้องรักและเทิดทูน เพราะเป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกราช เป็นอิสระ และความปลอดภัยในชีวิต ทุกคนจึงรักและหวงแหนชาติของตน คนไทยรับรู้เรื่องชาติของ เราได้จากประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี สัญลักษณ์อีกอย่างที่สำคัญ ของชาติ คือ ธงชาติธงชาติเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของชาติในการติดต่อกับประเทศอื่น ๆ การร้องเพลงชาติก็เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความยึดมั่น ความผูกพัน ความภาคภูมิใจที่มี ต่อประเทศชาติของตน การเคารพชาติและธงชาติ คนไทยแสดงความเคารพธงชาติด้วยการยืนตรง เมื่อได้ยินเสียงเพลงชาติและ พูดถึงชาติใน ลักษณะที่ยกย่องไม่ลบหลู่ดูหมิ่นชาติของตน |
ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชาติ ศาสนาสอนให้คนเป็นคนดีมี ศีลธรรม มีเมตตาต่อกันทุกคนควรให้ความคารวะซาบซึ้งในพระธรรมคำสั่งสอน เพราะชาติใดไม่มี ศาสนา ชาตินั้นจะถูกทำลายได้ง่ายศาสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการช่วยชาติให้ อยู่รอดปลอดภัย มารยาทในการแสดงความเคารพศาสนาทำได้ดังนี้ ๑. ทำบุญตักบาตรตามกำลังความสามารถ โดยเฉพาะในวันสำคัญทางศาสนา ๒. เมื่อเข้าในโบสถ์วิหาร ต้องถอดรองเท้า และนั่งสำรวมไม่พูดคุยเสียงดัง ๓. เห็นพระพุทธรูปในวัด ควรทำความเคารพด้วยการไหว้หรือกราบ ๔. เห็นพระภิกษุ สามเณร ควรจะเคารพ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่น ๕. เวลาพระเทศน์ ควรตั้งใจฟังอย่างสำรวม ๖. ควรสวดมนต์ได้บ้าง ๗. กราบพระก่อนนอนทุกคืน พร้อมระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การแสดงความเคารพต่อพระภิกษุ พระพุทธรูป หรือพระรัตนตรัย ตามประเพณีนิยมแล้ว มีเพียงแบบเดียวคือ กราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เว้นแต่สถานที่นั้นไม่ควรแก่การกราบ เช่น ที่พื้นในยานพาหนะ การแสดงความเคารพ ปฎิบัติได้ดังนี้ ๑. การไหว้ ในกรณีเช่นนี้จะต้องไหว้ในลักษณะนอบน้อม นิ้วหัวแม่มือจรดหน้าผาก ๒. การหมอบกราบ ทำดังนี้ ๑) หมอบเก็บเท้า ๒) มือประณมตั้งบนพื้น ๓) ก้มศีรษะลงไปให้หน้าผากจรดสันมือ ๔) คว่ำมือทั้งสองลงกับพื้น ๕) ยกมือทั้งสองขึ้นในท่าประณมพร้อมทั้งยกศีรษะขึ้นด้วย ๖) ทำเช่นนี้ ๓ ครั้ง ๗) นั่งตรง ยกมือไหว้จรดหน้าผากอีกครั้งหนึ่ง การกราบพระที่ถูกต้องจะต้องกราบ แบบเบญจางคประดิษฐ์เสมอ การกราบแบบนี้ หมายถึงให้ส่วนของร่างกายทั้ง ๕ ส่วนจรดพื้น หน้าผาก ๑ ,มือ ๒ ,เข่า ๒ |
| พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของปวงชนชาวไทย พระองค์ทรงร่วมทุกข์ ร่วมสุขกับคนไทยทุกคน ประเทศชาติจะดำรงอยู่ก็เพราะมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นศูนย์ รวมแห่งจิตใจในการต่อสู้กับอริราชศัตรู ในการรักษาเอกราชของประเทศ หรือการพัฒนา ประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นธงมหาราช เป็นธงประจำตัวของพระองค์ เวลาพระองค์เสด็จ ธงนั้น จะปักอยู่หน้ารถพระที่นั่ง และเพลงสรรเสริญพระบารมีเปรียบเสมือน สัญลักษณ์แทนตัว พระองค์ ฉะนั้น คนไทยทุกคนควรทำความเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้ ๑. ยืนตรงทำความเคารพ พระมหากษัตริย์ พระราชินีพระโอรสพระธิดาหรือตัวแทนพระองค์ ชายถวายคำนับ หญิงถอนสายบัว ๒. เมื่อได้ยินเพลงสรรเสริญพระบารมีทุกครั้ง ให้ยืนตรงทำความเคารพ อย่างสุภาพและระวัง ตรงหันหน้าไปทางพระองค์หรือพระบรมฉายาลักษณ์ หรือองค์ประธานของงาน หรือยืนหันไป ทางเสียงที่ได้ยินยืนจนจบเพลง ถ้าเป็นการบรรเลงที่ปรากฏพระองค์ ต้องถวายความเคารพ เมื่อเห็นพระองค์ครั้งหนึ่ง เมื่อจบเพลงให้ถวายความเคารพอีกครั้งหนึ่งแล้วนั่ง หรือเคลื่อนที่ ไปแล้วแต่กรณี ๓. ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีได้ ๔. เทิดทูนพระองค์ในทุกโอกาส ๕. ตั้งรูปของพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระโอรส พระธิดา ไว้ในที่สูง การถวายคำนับ ปฏิบัติดังนี้ ๑) ถ้าแต่งเครื่องแบบและสวมหมวก ให้ยืนตรงแล้วกระทำวันทยาหัตถ์ ๒) ถ้าไม่ได้สวมหมวก ให้ยืนตรงหันหน้าไปทางพระองค์ท่านแล้วถวายคำนับ โดยให้ก้ม ศีรษะและส่วนไหล่ลงช้า ๆ ต่ำพอควรกระทำครั้งเดียว แล้วยืนตรงอย่าผงกศีรษะเร็วเกินไป หมายเหตุ ถ้าสวมหมวกอื่นที่ไม่ใช้เครื่องแบบต้องถอดหมวกแล้วยืนตรงหันไปทางพระองค์แล้วถวายคำนับ การถอนสายบัว ปฏิบัติดังนี้ ๑) ยืนตรง เท้าชิด หันหน้าไปทางพระองค์ท่าน ๒) ชักขาข้างใด ข้างหนึ่งไปทางหลัง โดยวาดปลายเท้าไปทางอีกด้านหนึ่งของขาที่ยืน พร้อมกับย่อเข่าอีกข้างหนึ่งลงช้า ๆ ๓) เมื่อจวนต่ำสุด ให้ยกมือทั้งสองขึ้นวางประสานกันบนหน้าขาซ้ายที่ย่อต่ำลงให้ค่อนไป ทางเข่า ๔) ก้มศีรษะต่ำลงเล็กน้อย เงยศีรษะขึ้นพร้อมกับชักขากลับที่เดิม แล้วยืนและตั้งเข่าให้ตรง การถวายบังคม เป็นการถวายความเคารพพระมหากษัตริย์และพระบรมราชินี ตาม ประเพณีตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน กระทำได้ทั้งหญิงและชาย มีวิธีปฏิบัติแบบเดียวกัน ท่าเตรียม นั่งคุกเข่า ปลายเท้าทั้งสอง ตั้งลงยันกับพื้นนั่งทับลงบนส้นเท้า สำหรับชายให้แยกเข่า ห่างกันประมาณ ๑ คืบ สำหรับหญิงให้แยกเข่าเล็กน้อยพองามตั้งตัวตรงยกอกขึ้น อย่าห่อไหล่ หรือยกไหล่วางมือทั้งสองคว่ำลงบนหน้าขาทั้งสองข้างนิ้วมือทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน การถวายบังคมมี ๔ จังหวะ คือ จังหวะที่ ๑ ยกมือขึ้นประณมตรงระดับทรวงอก ให้ปลายนิ้วตั้งตรงระดับปลายคาง จังหวะที่ ๒ ทอดแขนพร้อมมือประณมหันไปข้างหน้า ให้ปลายมือต่ำลงแต่ไม่ห้อย ปลายนิ้วมืออยู่ ระหว่างระดับท้องโน้มตัวลงตามมือเล็กน้อย จังหวะที่ ๓ วาดมือขึ้นจรดหน้าผาก ให้หันแม่มืออยู่กลางหน้าผาก ลำตัวเฉพาะเหนือเอวขึ้นไป เอนไปข้างหลังชายเอนมากกว่าหญิง เงยหน้าให้อยู่ระดับ ๔๕ องศา แต่ไม่ถึงกับหงายหน้า ให้ตา อยู่ระดับนิ้วหัวแม่มือระดับของลำตัวในขณะที่มืออยู่ระดับจรดหน้าผากจะต้องเอนเล็กน้อย แต่ ไม่ใช่เอนจนหงายหรือแหงนแต่คอท่าเอนนี้ลำตัวจะโค้งด้วยเล็กน้อย ศอกจะกางออก จังหวะที่ ๔ ลดมือลงพร้อมกับโน้มตัวไปข้างหน้า วาดแขนและมือลงในระดับช่วงเข่า ปลายมือต่ำ ยกปลายมือขึ้นในท่าประณม ปลายมือตั้งขึ้น พร้อมกับเลื่อนมือขึ้นสูงระดับอก และยกตัวขึ้นตรง ทำเช่นนี้จนครบ ๓ ครั้ง แล้วลดมือลงในระดับอก เบนปลายนิ้วจากทรวงอกลงแบบอัญชลีแล้วจึง ปล่อยมือวางที่หน้าขาตามเดิม แล้วเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่าหมอบ |